บริษัท รับสร้างบ้าน

บริษัทรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน สร้างบ้าน สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

การรั่วซึมของอากาศ (Air Infiltration / Air Leak)

29
ก.ย.
2560

 

 

เนื่องจากอากาศร้อนชื้น ที่เข้ามาจากภายนอกเป็นภาระ การทำความเย็นที่สาคัญ ดังนั้นการปิดประตูหน้าต่างให้สนิทเวลาใช้เครื่องปรับอากาศเพื่อให้การทำงานของเครื่องปรับอากาศมีประสิทธิภาพและเกิดความเย็นภายในห้องเร็วขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง แต่กลับพบว่า หลายคนละเลยในเรื่องนี้แต่หากเมื่อปิดประตูหน้าต่างสนิทแล้วยังคงมีการรั่วซึมของอากาศอยู่ อาจจะเกิดจากรอยแยกหรือช่องว่างระหว่างรอยต่อของประตูหน้าต่าง จึงควรดูแลซ่อมแซมอย่างสม่ำเสมอ โดยการอุดรอยรั่วซึมตามรอยต่อ หรือรอยร้าวต่างๆ และหากประตูหน้าต่างที่มีอายุการใช้งานมานาน อาจจะมีอาการชำรุดสึกหรอ หากเป็นไปได้ก็ควรเปลี่ยนประตูหน้าต่าง ชุดใหม่ 

นอกจากรอยรั่วซึมที่เราต้องป้องกันและซ่อมแซมแล้ว ตามบริเวณขอบบานประตูด้านล่างมักจะมีช่องว่างระหว่างพื้นกับประตูขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการออกแบบและติดตั้ง หากมีการติดตั้งที่ไม่ได้คุณภาพจะเห็นช่องว่างนี้ได้อย่างชัดเจน และเป็นจุดสำคัญที่ อากาศสามารถไหลรั่วผ่านเข้าออกได้การแก้ไขในกรณีนี้ควรจะเริ่มที่ การเลือกใช้ประตูที่มีคุณภาพและติดตั้งให้มีระยะช่องว่างให้น้อยที่สุด หรือติดแถบป้องกันอากาศรั่วซึมที่ใต้บานประตูเพิ่มเข้าไป ไม่ว่าจะเป็น แถบกันการรั่วซึมทั่วไป หรือการติดตั้งระบบ Weather Stripping ซึ่ง จะช่วยป้องกันการรั่วซึมของอากาศและการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าได้ เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม การระบายอากาศด้วยพัดลมระบายอากาศสำหรับห้องที่มีการปรับอากาศก็ยังคงมีความจำเป็นสำหรับบางห้องเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ห้องที่มีคนใช้งานมาก ห้องที่มีกลิ่นอาหารหรือกลิ่นอับหรือควันบุหรี่ ซึ่งจะช่วยแลกเปลี่ยนอากาศที่ไม่ดีออกไปและนำอากาศที่ดีเข้าสู่ภายในห้อง ทำให้คุณภาพของอากาศภายในห้องนั้นๆ ดีขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ใช้งาน แต่หากเป็นห้องที่มีคนใช้งานไม่มากและไม่มีกลิ่นรบกวน ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ เนื่องจากอากาศที่รั่วซึมผ่านทางกรอบประตูหน้าต่างก็เพียงพอสำหรับใช้ในการหายใจ

การรั่วซึมของอากาศเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณอากาศเข้าไปในอาคารซึ่งเป็นสิ่งที่ดีในอาคารที่ไม่ปรับอากาศ แต่สำหรับอาคารที่ปรับอากาศจะกลับเป็นปัญหาและสร้างภาระในการปรับอากาศมากยิ่งขึ้นบางครั้งอาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยและมักถูกละเลยไม่ใส่ใจ การรั่วซึมของอากาศบริเวณประตูและหน้าต่างนับว่าเป็นจุดที่พึงระวัง ดังนั้น เริ่มต้นจากการใส่ใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบที่ดีและมีคุณภาพ รวมทั้งดูแลการติดตั้งอย่างระมัดระวัง หมั่นตรวจสอบและซ่อมแซมหากมีความเสียหายก็จะช่วยลดปัญหาและภาระค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้

 

โครงการประกวดบ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงานดีเด่น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Home Builder Association

เลขที่ 2 ซอยลาดปลาเค้า 10 แขวงลาดพร้าว

เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

 : info@hba-th.org

 : 0-2570-0153,0-2940-2744

  : 0-2570-0154